ข่าวและโปรโมชั่น

เคล็ดลับ วิธีการเลือกซื้อทัวร์ไม่ให้โดนลอยแพ



หลังจากที่มีข่าวดังข้ามคืนในโลกโซเชียล ถึงการลอยแพลูกทัวร์เที่ยวญี่ปุ่น ครั้งใหญ่กลางสนามบินสุวรรณภูมินับพันชีวิต เมื่อช่วงค่ำวันที่ 11 เมษายน 2560 หลังซื้อทริปท่องเที่ยวไปโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เดินทางด้วยเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำ ในราคา 9,730-20,000 บาท กับทางบริษัท WealthEver โดยมี ซินแสโชกุน เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งในเวลาต่อมา ซินแสโชกุน ได้อัดคลิปขอยกเลิกการเดินทางดังกล่าว เพราะไปสร้างปัญหารวมตัวกันวุ่นวาย พร้อมกับย้ำว่า ไม่ได้เป็นการขายทัวร์ แต่พาลูกค้าขายตรงไปเที่ยว (แบบนี้ก็ได้หรอ???) ทำให้ลูกทัวร์เกิดความงง และไม่รู้จะเรียกร้องค่าเสียหายและผู้รับผิดชอบจากที่ไหน ซึ่งในเวลาต่อมากองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ได้มีการตรวจสอบว่าบริษัทขายตรงนี้  ไม่พบว่าบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจขายตรงจาก สคบ. แต่อย่างใด อีกทั้งการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำเที่ยว ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ไม่สามารถรับจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจขายตรงได้อีกด้วย ฟังคลิปเสียงซินแสโชกุนจากกรณีที่เกิดขึ้น ฟังเสียงคลิปได้ที่นี่

1. เลือกซื้อทัวร์กับบริษัททัวร์ที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจนำเที่ยวอย่างถูกต้อง เช่น มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวถูกต้อง ตรงประเภท และยังไม่หมดอายุ ซึ่งใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยทั่วไป จะมีอายุ 2 ปี และต้องขอต่ออายุใหม่ในทุกๆครั้ง OUTBOUND รหัส 11/XXXXX ระวัง บริษัททัวร์ที่ใส่เลขที่ใบอนุญาตปลอมเพื่อให้ดูเหมือนว่าทัวร์ เป็นทัวร์ที่ถูกต้องลองตรวจสอบกับสำนักงานงานพัฒนาการท่องเที่ยว (ทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กรุงเทพมหานคร) คลิกเพื่อตรวจสอบเลขที่ใบอนุญาติธุรกิจนำเที่ยวหรือชื่อใบผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว


2. เลือกซื้อทัวร์กับบริษัททัวร์ที่มีความน่าเชื่อถือและมั่นใจได้จริง เช่น บริษัททัวร์ชั้นนำของสายการบิน บริษัททัวร์ที่ไม่เปลี่ยนชื่อบริษัทบ่อย เวบไซด์ของบริษัทที่คุ้นหน้าคุ้นตาที่เปิดเป็นเวลานานพอสมควร ลักษณะการจดทะเบียนธุรกิจ บริษัทที่ระบุชัดเจนได้ว่าสำนักงานที่ตั้งอยู่ที่ใหน มีตัวตนอยู่จริง มีเบอร์โทร เบอร์แฟ๊กซ์ และอีเมล์สามารถติดต่อได้ และติดต่อกับใครได้บ้าง อ้างอิงจากเพื่อนที่เคยไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ที่เลือกซื้อ เป็นต้น


3. ไม่เลือกทัวร์ที่ราคาถูกจนเกินไปโดยไม่ทราบถึงมาตรฐานการบริการ (เช่นลดกันทีนึง 30-50% จากราคามาตรฐานที่ควรจะเป็น) วิธีตรวจสอบง่าย ๆ ก็ลอง Search ตาม Internet แล้วลองตรวจสอบราคากลางจากการเปรียบเทียบราคาดู เข้าใจว่าทุกคนชอบของถูกแต่ถ้าถูกเกินไปจนไม่สมเหตุสมผลก็น่ากลัวค่ะ


4. ตรวจสอบได้ โดยอาจจะทำการสอบถามไปกับเพื่อน ๆ ที่มีประสบการณ์ก่อนหน้านั้นที่ทำการซื้อทัวร์เดียวกันกับเจ้าอื่นและทำการสอบถามกับพนักงานจองทัวร์ว่าเคยได้ยินชื่อบริษัทนั้นบริษัทนี้ไหมถ้าไม่เคยได้ยินเลยอาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ


5. ระยะเวลาการเดินทางกับ ชำระเงินไม่สมเหตุสมผล เช่นว่าทำการจองจะไปท่องเที่ยวญี่ปุ่น ท่องเที่ยวเกาหลี เป็นเวลาล่วงหน้า 6 เดือนแต่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนก่อน ณ เวลานั้น ๆ เลย และมีการทวงถามให้ชำระค่าบริการถี่ ๆ ให้พึงระมัดระวังและตรวจสอบเป็นพิเศษ กรณีนี้ส่วนใหญ่ชำระแค่มัดจำไปก่อนแล้วใกล้วันเดินทางจริง (ประมาณ 60 วันก่อนเดินทาง) ค่อยชำระส่วนที่เหลือก็ได้แต่ตรงนี้ต้องอ่านกติกาในใบรายการดี ๆ อาจจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียวแต่ส่วนใหญ่ก็ไม่น่าจะต่างกัน


6. บัญชีธนาคาร ที่โอนเงินเข้าไปควรตรวจสอบว่า เป็นการโอนเงินเข้าไปในชื่อของบริษัทจริงหรือ เป็นชื่อของใครในบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือที่พอจะมั่นใจได้ เช่น ชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัททัวร์ที่ซื้อจริง ไม่ควรโอนให้พนักงานหรือผู้ติดต่อเพราะความไว้วางใจ มองโลกในแง่ดี อาจโดนโกงแบบชนิดที่ว่ารับเงินแล้วหายไปเลย ให้เป็นไอเดียกันนะคะเพราะช่วงที่มีเรื่องมีราวว่าลูกค้าโดนโกงก็แอบห่วงว่าจะมีเพื่อน มีลูกค้า หรือแม้กระทั่งลูกค้าของลูกค้า โดนหลอกกันให้เห็นมีตัวอย่างมาหลายคดีแล้ว ด้วยความปรารถนาดีค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : www.thairath.co.th , http://www.travexgo.com/ และ http://www.tourism.go.th


 

สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ

 



 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)