ข่าวและโปรโมชั่น

ไลฟ์สไตล์คนเมือง กับแผนที่ฉบับเต็ม รถไฟฟ้า-ใต้ดิน คาดแล้วเสร็จปี 2562



ชีวิตคนเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทั้งเช้าสายบ่ายเย็น รถก็ติดคนก็เยอะ การเดินทางค่อนข้างลำบาก แต่เมื่อประเทศไทยเรามีรถไฟฟ้า - ใต้ดิน จึงเป็นตัวเลือกสุดฮิตที่ตอบโจทย์คนเมืองได้อย่าง 100% เพราะทั้งเร็ว และช่วยประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ขอย้อนอดีตไปนิดนึง รถไฟฟ้าบ้านเราเริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 2542 จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 15 ปี ที่กรุงเทพฯ เริ่มมีการใช้รถไฟฟ้า แม้ในปัจจุบันจะมีเพียง 4 เส้นทาง 60 สถานีและมีระยะทางเพียง 86.52 กิโลเมตรก็ตาม โดยในปัจจุบันได้มีการต่อเติมสร้างเส้นทาง รถไฟฟ้า-รถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อมโยงทั่วทุกพื้นที่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562

จากเดิมนั้นที่รถไฟฟ้าหลายเส้นทางดูจะแล้วเสร็จในปี 2572 แต่เนื่องจากมีแผนเร่งรัดการดำเนินการพยายามให้เสร็จภายในปี 2562 ซึ่งจะเร็วกว่ากำหนดเดิม 10 ปีอีกด้วย ซึ่งอนาคตเราจะมีรถไฟฟ้าเพื่มเป็น 13 สาย 13 สี ได้แก่

 

1.สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร

 
  • ธรรมศาสตร์-บางซื่อ
  • บางซื่อ-หัวลำโพง
  • หัวลำโพง-บางบอน
  • บางบอน-มหาชัย
 

2.สายสีแดงอ่อน (ศิริราช-ศาลายา-ตลิ่งชัน-หัวหมาก) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 54 กิโลเมตร

 
  • ศิริราช-ตลิ่งชัน
  • ตลิ่งชัน-บางซื่อ
  • บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน
  • มักกะสัน-หัวหมาก
  • มักกะสัน-บางบำหรุ
 

3.สายท่าอากาศยาน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร

 
  • สุวรรณภูมิ-พญาไท
  • พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง
 

4.สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร

 
  • ลำลูกกา-คูคต
  • คูคต-สะพานใหม่
  • สะพานใหม่-หมอชิต
  • หมอชิต-อ่อนนุช
  • อ่อนนุช-แบริ่ง
  • อุดมสุข-สุวรรณภูมิ
  • ธนาซิตี้-วัดศรีวาน้อย
  • แบริ่ง-สมุทรปราการ
  • สมุทรปราการ-บางปู
 

5.สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร

 
  • ตลิ่งชัน-บางหว้า
  • บางหว้า-วงเวียนใหญ่
  • วงเวียนใหญ่-สะพานตากสิน
  • สะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ
  • สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส
 

6.สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 55 กิโลเมตร

 
  • ท่าพระ-บางซื่อ
  • บางซื่อ-หัวลำโพง
  • หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค
  • บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
 

7. สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร

 
  • บางใหญ่-บางซื่อ
  • บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
 

8.สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร

 
  • ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ
  • บางกะปิ-มีนบุรี
 

9. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร

 
  • แคราย-ปากเกร็ด
  • ปากเกร็ด-หลักสี่
  • หลักสี่-วงแหวนรอบนอก
  • วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี
 

10.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร

 
  • ลาดพร้าว-พัฒนาการ
  • พัฒนาการ-สำโรง
 

11.สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร

 
  • วัชรพล-ลาดพร้าว
  • ลาดพร้าว-พระราม 4
  • พระราม 4-สะพานพระราม 9
 

12.สายสีฟ้า (ช่องอินทรีย์-ประชาสงเคราะห์)

 
  • ช่องอินทรี – ลุมพินี
  • ลุมพินี – มักกะสัน
  • มักกะสัน – ประชาสงเคราะห์
 

13.สายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทาง 21 กิโลเมตร

 
  • แคราย-บึงกุ่ม



อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าหากรถไฟฟ้าเสร็จครบหมดทุกสายก็ช่วยแก้ไขปัญหาจราจรได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหวังว่าคนจะมาใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บ้านและคอนโดที่ตั้งโครงการใกล้กับเส้นทางดังกล่าวก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วย เพราะจะกลายเป็นทำเลทองที่ราคาดีมากขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งเราก็ได้แต่นับวันรออีกไม่กี่ปีข้างหน้า รถไฟฟ้าจะเสร็จครบจริงหรือไม่?





ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : https://www.reviewyourliving.com





 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)