ข่าวและโปรโมชั่น

เงื่อนไขมาตราการ ช้อป - เที่ยว ช่วยชาติ ลดหย่อนภาษีรวม 3 หมื่นบาท



ข่าวดีสำหรับเหล่าบรรดานักช็อป รวมทั้งมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ซึ่งหลังจากรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นของขวัญส่งท้ายปี 2559 นอกจากเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ ได้ลดภาษีจากการซื้อสินค้าแล้ว ในเดือนเดียวกัน ยังมีมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ในประเทศที่ออกมาก่อนหน้าอีกด้วย เรียกว่า ภายในเดือนเดียว ลดหย่อนภาษีรวมแล้วถึง 30,000 บาทอีกด้วย ซึ่งจากการรายงานข่าว thairath ระบุว่าย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศตลอดช่วงเดือน ธ.ค. ตั้งแต่วันที่ 1- 31 ธ.ค.59 เป็นเวลา 1 เดือน  โดยให้หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท 


ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเป็นผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงระหว่างวันที่ 1-31 ธ.ค.2559 เป็นค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือเป็นค่าที่พักในโรงแรมที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
โรงแรม ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยว และรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สามารถ
ใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีได้ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจนำ เที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยว และรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สามารถใช้สิทธิ์ หักลดหย่อนภาษีได้ที่ rd.go.th


แต่สำหรับค่าโดยสารต่างๆ ค่าอาหาร ค่าเข้าชมการแสดง ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ และต้องไม่ลืมว่าการเดินทางท่องเที่ยวและใช้บริการจะต้องเกิดขึ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2559 นี้เท่านั้น หากชำระค่าบริการไว้ในปี 2559 แล้วเดินทางหรือเข้าพักในปี 2560 จะถือว่าไม่เข้าข่ายสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ อย่างไรก็ดี มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่ทางภาครัฐออกมานั้น ก็เหมือนจะมีจุดที่ทำให้ไม่สามารถ แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ อ้างอิงตัวข้อมูลดังกล่าว จากทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรการตัวนี้ว่า อาจจะส่งผลดีเมื่อถูกใช้ผ่านการกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่ตัวผลกระตุ้นดังกล่าวอาจเผชิญข้อจำกัดอยู่บ้าง


ข้อจำกัดที่ว่า มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของฤดูกาลท่องเที่ยวไทย ส่วนใหญ่มักจะมีการวางแผนล่วงหน้าไปแล้ว จึงทำให้ผู้ที่คิดจะวางแผนท่องเที่ยวแบบกะทันหันในช่วงนี้อาจจะเผชิญปัญหาไม่สามารถจองที่พักในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายได้ สำหรับผลของมาตรการดังกล่าว คาดว่า จะทำให้เกิดเม็ดเงินกระจายสู่ธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มเติม 2,000-4,000 ล้านบาท เทียบกับในกรณีที่ไม่มีมาตรการการท่องเที่ยว และส่งผลให้เกิดเม็ดเงินสะพัดสู่ธุรกิจท่องเที่ยวในเดือนธันวาคม 2559 ประมาณ 82,000-84,000 ล้านบาท เติบโตร้อยละ8.8-11.5 เมื่อเทียบกับที่เติบโตร้อยละ 13.4 ในเดือนเดียวกันของปี  2558 ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เที่ยวในช่วงนี้จะได้รับประโยชน์จากมาตรการ ที่จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อจากการขอคืนภาษีในปีหน้า


อีกหนึ่งมาตรการที่มีความสอดคล้องกัน คือ มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ช็อปช่วยชาติ สำหรับผู้ซื้อสินค้าและบริการ ในระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค.59 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มาหักลดหย่อนภาษี โดย
ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งต้องระบุข้อความ ดังนี้

1. คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้ชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของร้านค้า

3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ

4. หมายเลขของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือ บริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด (ถ้ามี)


ขณะที่ วิธีขอใบกำกับภาษีก็ไม่ยาก เพียงแค่ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมใบเสร็จรับเงินให้ผู้ขายสินค้าเท่านั้น และใบกำกับภาษีต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพียงคนเดียว ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีที่มีผู้ซื้อสินค้าหลายคนมาหักลดหย่อนได้ สำหรับสินค้าที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น ต้องเป็นสินค้าที่เสียมูลค่าเพิ่ม เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ สินค้าเสริมความงาม อาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหารและโรงแรม (ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) โดยร้านอาหารต้องจดทะเบียน VAT ยารักษาโรค อาหารเสริม อุปกรณ์ไอที เครื่องใช้ ไฟฟ้า บริการนวดหน้า สปา ทองรูปพรรณ (ลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จ) ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดต้องซื้อหรือใช้บริการจากร้านที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ได้เท่านั้น


ดังนั้น เมื่อมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ถูกนำไปรวมกับมาตรการช็อปช่วยชาติ จึงเท่ากับว่าสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว แต่อย่าลืมเช็กดีๆ เพราะทั้ง 2 มาตรการ ผู้มีเงินได้จะได้รับภาษีคืนเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของตัวเอง เช่น ผู้มีฐาน
ภาษี 35% หากจ่ายเงินสำหรับท่องเที่ยวช่วงเดือนธันวาคม ไป 15,000 บาท จะได้ภาษีคืน 5,250 บาท ซึ่งเป็นอัตราคืนภาษีสูงสุด แต่ถ้ามีฐานภาษีเพียง 5% จ่ายไป 15,000 บาท เต็มจำนวน ก็จะได้ภาษีคืนเพียง 750 บาทเท่านั้น


เมื่อดูจากเงื่อนไขของทั้งสองมาตรการก็ชวนให้คิดได้ว่า คนที่มีฐานภาษีสูง หรือฐานเงินเดือนสูง ย่อมได้ประโยชน์จากมาตรการอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนที่ผู้เสียภาษีในอัตราขั้นต่ำ หรือมีฐานเงินเดือนที่ไม่สูงมาก อาจจะต้องพิจารณาด้วยว่าสินค้าที่ตนซื้อนั้นจำเป็นหรือไม่ เพราะหากซื้อสินค้ามูลค่า  15,000 บาท เพื่อแลกกับส่วนลดไม่ถึงพันบาทก็อาจจะไม่คุ้มค่า


govivigo ขอให้เพื่อน ๆ มีความสุขในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว และจับจ่ายซื้อของส่งท้ายปีแถมได้ย่อนภาษีอีกด้วย ขอให้ทุกท่านมีความสุขตั้งแต่ต้นปียันปลายปี และตลอดไปคะ



ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : www.thairath.co.th


 

สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ

 



 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)